วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

การตกกุ้งก้ามกรามในธรรมชาติ

 การตกกุ้งก้ามกรามในธรรมชาติ นั้นใช่ว่าจะตกกันได้ตลอดเวลา หรือทุกฤดูกาลครับ มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณาประกอบกันไปในการไปตกแต่ละครั้ง
ได้แก่  สภาพน้ำ  ช่วงน้ำแดงที่สังเกตุบ่อยฯ ถ้าเป็นช่วงที่ฝนตกใหม่ฯ  หรือน้ำจากทางเหนือล่องลงมา  กุ้งมักจะไม่ค่อยกินเบ็ดครับ  ไม่ใช่ว่าไม่มีตัว แต่อาจจะเพราะน้ำขุ่น และข้น  กุ้งอาจจะมองเห็น  และจับเหยื่อยาก   ส่วนใหญ่จะต้องลอยเรือออกไปตกตามร่องลึกของแม่น้ำ  แตก้ออันตรายกับเรือใหญ่ที่ผ่านไปมา  และผักสวะมากมาย  ช่วงน้ำแดงแบบนี้ผมมักจะไม่ค่อยได้ตกเท่าไร  ไปเน้นปลาแดง  ปลาเบี้ยว ปลาสวายกันเสียมากกว่า
        กุ้งมักจะกินเหยื่อถี่ก้อช่วงน้ำเริ่มเดิน  หัวน้ำขึ้น   หัวน้ำลง จนลงตลอดเรื่อยฯ  ช่วงนี้แนวความลึกของน้ำต้องคอยเปลี่ยน  และขยับตามอยู๋เป็นเนืองฯ
        ฝนตก  กุ้งมักไม่ค่อยกิน  กินก้อน้อยตัว เมื่อฝนหยุดส่วนใหญ่กุ้งจะเข้าแนวตื้น  หาตกเอาตามใต้กอผักต่างฯ  ใต้โป้ะ  ใต้เรือจอด   ตามก่ำ
        โดนโรยยา  กุ้งไม่กินทุกกรณีครับ  ช่วงนี้ต้องหาตบ  คนโรยยาตามชายตลิ่งครับ  และมักจะเป็ฯช่วงน้ำลงมากฯตอนกลางคืน
        แต่ที่แน่ฯ  ให้ดูเรือตกกุ้งเป็นหลักครับ  เห็นเรือตกกุ้งเมื่อไรเป็นใช้ได้ มีตัวแน่นอนแต่ก้อตามแต่ละสถานที่  ด้วย  ถ้าไปตกมั่วฯก้อจะมีบ้างตัว  สองตัว แต่ถ้าไปตกตามหมายก้อจะมีมาก  เช่น  ขอนจม  เรือจม  ซากไม้  กองไม้   ใต้พื้นปูน  ใต้ถุนโรงสีต่างฯ  ชาวเรือพวกนี้เขามีบันทึกไว้ครับ  ในแต่ละปีเขาจะจด  และจำ ช่วงตกกุ้งต่างฯ มาเดือนใหน  ช่วงใหน  ตกแนวใหน  เขาอาชีพครับตาเหมือนมองทะลุน้ำได้ คาราวะ ยอม  พวกเราก้อเลยได้อานิสงค์ไปด้วย  ในหมายปลาใหญ่ต่างฯแถวบางประอิน
วันใหนเขาเห็นฮูบ  หรือตกได้  ก้อจะแวะเวียนมาบอก  เช่นพวกปลาม้า  ปลาสวาย  เทโพ  หรือพวกปลาเบี้ยว  ปลาแดง